มองเวียดนามผ่านการเดินทาง โดย ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร

วันที่ 13 เมษายน 2560

ไปดูอุโมงค์ใต้ดินที่หมู่บ้าน Vinh Moc ที่เป็นที่อยู่ที่หลบภัยของประชาชน ทหาร เวียดนามเหนือสมัยสงคราม อุโมงค์นี้ยาวรวมกันกว่าสิบกิโลเมตร

18386686_1282004571929091_341558102_nในเมืองไทยสมัยการต่อสู้ ก็มีการขุดอุโมงค์ที่ตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่บ้านน้ำรี (น้ำช้าง?)อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ที่น่าน ผมเคยไป แต่อุโมงค์ไม่ซับซ้อนเท่าที่วินมอก นอกจากนั้นมีอุโมงค์พรรคคอมมิวนิสต์ที่เขาน้ำค้าง สงขลา (ผมไม่เคยไป)

จากเว้ไปทางถนนสายเอเซียหมายเลขหนึ่ง Asian Highway -AH 1 ซึ่งผ่านจากโตเกียวไปอิสตันบูล ส่วนที่ผ่านเวียดนามเชื่อมโฮจิมินซิตี้และฮานอย

18425727_1282004678595747_47111169_nเมื่อผมมาเส้นทางนี้ ถนนกำลังขยายจากสองเลนเป็นสี่เลน รถติดมาก ตอนนี้เป็นสี่เลนหมด

ในอุโมงค์ขุดเป็นที่อยู่ครอบครัว ห้องพยาบาล ที่ประชุม มีบ่อน้ำ การระบายอากาศและสุขาภิบาลต้องดีมาก

อุโมงค์มีสามระดับลึก 8-23 เมตร ช่วงที่เปิดให้ดูยาวกิโลเมตรเศษ ขุดด้วยแรงคนทั้งหมดในช่วงปลายทศวรรษ 2510 ซึ่งสงครามรุนแรง ขุดอุโมงค์หลบการทิ้งระเบิดมหาศาล ฝ่ายเวียดนามบอกว่ามากกว่า 500,000 ตันในจังหวัดกวางตรี ที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านนี้ คำนวณแล้วบอกว่าชาวบ้านรับระเบิดคนละหลายร้อยตัน

18424719_1282004668595748_254173664_n

– – – – – – – – –

ออกจากวินมอก มาหาข้าวกลางวันกิน แถบนั้นเป็นดินแดนสู้รบเก่าในจังหวัดกวางตรี เมืองดงฮา ลูกศิษย์ที่ไปด้วยบอกว่าเห็นบ้านเก่า ๆ มีรอยกระสุนพรุนไปหมด

บอกคนขับว่า (จะกินง่าย) เลยพูดว่าแซนด์วิช คนขับพูดไทยแบบอิสานได้บางคำ ฝ่ายเราก็พูดเวียดนามได้จำกัด แบบนับคำได้ไม่มากกว่านิ้วบนมือสองข้าง (สำนวนฝรั่ง)

18387158_1282004858595729_685728261_nหาแซนด์วิชจนอ่อนใจเพราะเราเห็นขนมปังฝรั่งเศส (baguette) ทำเป็นแซนด์วิช ข้างทางหลายแห่ง แต่คนขับพาไปซื้อไม่ได้ เลยตัดสินใจกินเฟอ ภาษาเวียดนามตัวเดียวที่เราอ่านออก

ดูไปดูมา รู้จักอาหารอีกหนึ่งอย่างคือไข่กระทะ เรียกมอนตรัง เลยจำไว้สั่งในอนาคตกันตาย คนเวียดนามกินเฟอ กินไข่กระทะ สามเวลา เช้า กลางวัน เย็น

ราคาเฟอและไข่กระทะประมาณ 70-100 บาท ไข่กระทะใส่ทั้งไข่ไก่ไข่นกกระทา

18386962_1282004808595734_1116408536_nรูปลูกชายพระเจ้า Gia Long ที่ส่งไปฝรั่งเศสต้นรัชกาลที่หนึ่ง (2330) จะเห็นว่าพระเจ้า Gia Long ไม่ได้พึ่งสยามเท่านั้น ตามประวัติศาสตร์ไทยบอกว่าองเชียงสือมาพึ่งพระบนมโพธิสมภารรัชกาลที่หนึ่ง อยู่ในไทย 2328-2332

สรุปแล้ว องเชียงสือหาความช่วยเหลือรอบด้าน ไม่ใช่จากไทยเท่านั้น เราถูกประวัติศาสตร์ที่สอนกันมาทำให้เรารู้สึกว่าเราสำคัญ

ภาพทีรู้จักกันดีจากสงครามเวียตนาม

หลุมระเบิดจากการทิ้งระเบิดของอเมริกา

พระ Quang Duc เผาตนเองประท้วงรัฐบาลทหารเวียตนามใต้ 11 เมษายน 2506

ทหารอเมริกันรีบถอนตัวหลังไซ่ง่อนแตก เมษายน 2518 ทิ้งอาวุธลงทะเล รวมทั้งผลักเฮลิคอปเตอร์ลงทะเลจากเรือบรรทุกเครื่องบิน

เข้าเมืองเว้ เมืองตั้งอยู่ริมแม่นำ้นำ้หอม (Perfume/Song Houng River) เว้เป็นที่ประทับของจักรพรรดิราชวงค์เหงียน (Nyuen Dynasty)

ตามประวัติศาสตร์ไทยมีเรื่องกล่าวว่า เมื่อองเชียงสือหนีกลับออกจากกรุงเทพ เพื่อไปสู้กบฏไต้เซิง (Tay Son) โดยไม่ทูลลารัชกาลที่ 1 จึงถือว่าเป็นกบฏตามราชประเพณี

กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทต้องการไปไล่จับมาลงอาญา แต่ร.1 บอกว่าเขาจะไปรบเพื่อสร้างบ้านเมืองเขา จึงขอให้ปล่อยไป แล้วเขาจะสำนึกในบุญคุณ

มีราชประเพณีมาตั้งแต่อยุธยาที่เจ้านายจะออกจากพระนครไปไกลเกินหลักเขตหลักหนึ่งไม่ได้ ถูกมองว่าอาจไปซ้องสุมผู้คนนอกพระนคร และเป็นกบฏ การออกไปไกลจึงต้องกราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดิน นอกกรุงเทพไปทางเหนือและตะวyนตกยังมีหลักเขตเหล่านี้ ที่เราเรียกหลักสอง หลักสี่ เป็นต้น

พระเจ้า Gia Long เป็นกษัตริย์เก่งมาก ต้องการรวมอาณาจักรต่าง ๆ ของ เวียดนามซึ่งขณะนั้นอยู่ใต้อิทธิพลของขุนศึก (War Lord) หลายกลุ่ม มีสงครามประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่เรียกว่ากบฏไต้เซิ้ง พระเจ้า Gia Long ได้หาความช่วยเหลือจากหลายทางทั้งสยามรัตนโกสินทร์ ฝรั่งเศส อังกฤษ ฮอลแลนด์ คนสำคัญคือบาทหลวงฝรั่งเศสชื่อ Pigneau de Behaine ได้ติดต่อกำลังฝรั่งเศสในเอเซียที่ปอนดิเชียรี่ (Pondicherry – Paris of the East) ซึ่งฝรั่งเศสมาตั้งบริษัท French East India Company ตั้งแต่ปี 2217 รวมทั้งขอความช่วยเหลือจากราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งขณะนั้นอ่อนแอ ใกล้สิ้นราชวงศ์

พระเจ้า Gia Long ถึงกับส่งลูกชายไปอยู่ที่ฝรั่งเศส(เป็นตัวประกัน?)

การกระทำเช่นนี้แสดงถึงการยอมรับฝรั่งเศสว่าเป็นผู้คุ้มครอง (เวียตนาม) มาตั้งแต่รัชกาลที่หนึ่ง ไม่ใช่ว่าฝรั่งเศสเอาเวียตนามไปจากไทยเมื่อหกสิบเจ็ดสิบปีหลังจากนั้น

– – – – – – – – –

จากประวัติศาสตร์ที่เราเรียนกันแล้ว เราเลยสับสนว่าประเทศไทยทำสงครามกับประเทศพม่า หรือประเทศเขมร เลยเกิดอคติ ไม่ชอบพลเมืองทั้งประเทศจนทุกวันนี้ ทั้ง ๆ ที่สงครามเป็นความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรก่อนมีประเทศ

1494386135585

แผนที่อาณาจักรในเอเซียอาคเนย์ ช่วงกบฏไต้เซิง 2321-2345 จากปลายกรุงศรีอยุธยาถึงปลายรัชกาลที่หนึ่ง

ขณะนั้นไม่มีประเทศที่เรารู้จักในปัจจุบัน

ในประวัติศาสตร์ไทย ปฐมจักรพรรดิราชวงค์เหงียนที่นักเรียนไทยเรียนกันคือ พระเจ้าเวียตนามยาลอง เวียนนามเรียกซา ลอง (Gia Long) หรือองเชียงสือ

ประวัติศาสตร์ไทยสอนว่า องค์เชียงสือทำสงครามกู้ชาติและแพ้ หนีมาลี้ภัยในไทยปี 2328 ร.1 ทรงอุปถัมภ์ สี่ปีต่อมาปี 2332 องเชียงสือหนีกลับไปกู้ชาติต่อ ทำสำเร็จและตั้งราชวงศ์เหงียนที่เว้

วิ่งออกไปนอกเมือง ร้านขายของข้างถนนมีมากกว่าเมืองไทย ที่เห็นชินตาคือ นั่งกินอาหาร น้ำชา ข้างถนน หรือในเพิง หรือในร้าน ตามแต่สภาพ ตามถนนจะเห็นนั่งบนเก้าอี้เตี้ย ๆ เป็นหลัก

ส่วนบ้านเรา ไปไหนก็เห็นร้านขายอาหาร และร้านกาแฟสด ที่นี่ไม่เห็นเลย

นอกจากนั้น มีร้านขายยา (มากจริงๆ) ร้านซ่อมจักรยานยนต์ (มากจริงๆ) ที่ไม่ว่ายี่ห้ออะไรก็เรียกฮอนดา
ขึ้นป้ายฮอนดา

จักรยานยนต์วิ่งเลนใน รถวิ่งเลนนอก บ้านเราจักรยานยนต์วิ่งทุกช่องจราจร คนขับเกือบทุกคนใส่หมวกกันน้อค

– – – – – – – – –

18387349_1282004828595732_529090971_nถนน AH1 เป็นเส้นเดินทางขนส่งหลักของประเทศ เท่าที่วิ่งรถช่วงเวียตนามกลางจากเมือวมรดกโลก-ฮอยอัน (Hoi An) ดานัง ขึ้นไปเว้ และต่อไปเหนือแถบDMZ ระยะทางประมาณ 300 กม สภาพดี บางช่วงเป็นหกเลน

เห็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจคึกคักมากตามข้างถนนทั้งเมืองใหญ่มากเช่น ดานัง (มีพลเมืองมากเป็นที่สามรองจากโฮจิมินท์ซิตี้และฮานอย) เมืองใหญ่เช่นเว้ และเมืองขนาดกลางเช่นกวางตรีตลอดจนเมืองเล็ก หมู่บ้านสองข้างทาง
เทียบความสำคัญของถนนคงเหมือนกับพหลโยธิน เพชรเกษม สุขุมวิท/บางนาตราด แต่ทางหลวงบ้านเรากว้างมาก หลายช่องจราจรจนดูน่ากลัวไม่เป็นมิตร (impersonal)

ผมสังเกตว่าในเมืองใหญ่จะมีรถยนต์มากแสดงถึงความมั่งคั่ง มีมอเตอร์ไซด์มาก

ส่วนจักรยานใกล้สูญพันธุ์ต่างจากเมื่อเปิดประเทศยี่สิบกว่าปี ทุกแห่งมีแต่จักรยาน รถสามล้อถีบเห็นน้อยมากในเว้ ไม่มีในดานัง

คนขับมอเตอร์ไซด์มีมารยาท เมื่อถึงแยกไฟจราจรจะหยุดชิดด้านใน ไม่ออกมาด้านนอกหรือปาดมาอยู่หน้าคันแรกๆ ชิงสัญญานไฟเขียวแบบบ้านเรา

แต่ทุกสี่แยก ก็ยังเป็นการวัดใจระหว่างมอเตอร์ไซด์ที่มาทุกทิศทุกทาง ใครกล้าก็ไปก่อน

เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนเป็นการวัดใจคนขี่จักรยาน ทั้งในโฮจิมินท์ซิตี้และฮานอยมีจักรยานเบียดกันทุกทางนับร้อยคัน น่าตกใจสำหรับคนที่มาจากไทยที่ไม่ชินกับจักรยาน ส่วนเมืองขนาดกลางจะเห็นรถยนต์และมอเตอร์ไซด์ ในเมืองเล็กมีแต่มอเตอร์ไซด์

รถวิ่งทางหลวงคุมความเร็วไม่เกิน 60 กม/ชม ไม่ว่าถนนจะว่างอย่างไรก็ไม่วิ่งเร็วผิดกฎหมาย คนไทยไปเวียดนามจึงอึดอัด เพราะเราวิ่งเกินร้อยกิโลเป็นธรรมดา

ส่วนตลาดดองบาเป็นตลาดสดใหญ่ในเว้ ไม่มีนักท่องเที่ยวไปนอกจากพวกเรา

เวลาไปต่างจังหวัดและต่างประเทศ ผมมักชอบไปเที่ยวตลาดสด เพราะตลาดจะสะท้อนความเป็นอยู่ ความสมบูรณ์หรือความอดหยากของประชาชน เห็นความก้าวหน้าของการผลิตอาหารและการเข้าถึงอาหารของประชาชนธรรมดา

นอกจากตลาดซึ่งสะท้อนการกิน(เสพย์ทางปาก)แล้ว ผมชอบไปร้านหนังสือหรือดูหนังสือ เป็นการบอกว่าคนในสังคมนั้นเสพย์ (กิน)อะไรทางปัญญา สะท้อนสังคมได้ดี

ในเมืองไทย เมื่อมีรถขายกับข้าวแม้ในชนบท ซุปเปอสโตร์ ร้านสะดวกซื้อ ทำให้ภาพความสำคัญตลาดสดลดลง

ในตลาดสดทุกแห่ง จะมีส่วนที่ขายของแห้งหลากหลายขายของใช้ทุกประเภทตั้งแต่หัวยันเท้า ของใช้ในบ้านรอบตัว

ส่วนนี้คือสิ่งที่เราเรียกกันว่าตลาดเวียตนามตามจังหวัดพรมแดนไทย แต่ตลาดเวียตนามที่นี่ใหญ่ใหญ่มาก

รูปที่ส่งมาให้ดู มีของแปลกจากที่ไทยมี คือกุ้งดองพริก(ในขวดและอ่างพลาสติก) แมงกะพรุนน้ำจืด
ทุกบ้าน ร้านค้าทั้งร้านอาหาร ร้านขายของ จะมีหิ้งบูชาบรรพบุรุษ ส่วนภายนอก ในพื้นที่เปิดหรืออาจอยู่ใต้ชายคาบ้าน
มีเหมือนศาลพระภูมิ หลายที่มีสองศาลคู่กัน ไม่สามารถถามคนเวียตนามได้ว่าเป็นศาลเทวดาและศาลเจ้าที่หรือเปล่า มีการตั้งผลไม้ไหว้ ยังเห็นเหมือนศาลกลางแจ้งตามถนน ริมท้องนา

คนเวียตนามเหนือและกลางส่วนมากเป็นพุทธหินยาน ยึดคำสอนขงจื้อ ยังฟังศพและมีฮวงซุ้ยกระจายตามนาทุกหนทุกแห่ง นอกจากตามสถานที่สุสานเฉพาะ

เวียตนามตอนใต้เป็นคาทอลิก เพราะอิทธิพลของฝรั่งเศสที่เข้ามาตั้งแต่ปลายอยุธยา
วันนี้มาพิพิธภัณฑ์มนุษยวิทยาที่ฮานอย ไม่แน่ใจว่าครูแดงมาหรือยัง ถ้ายัง ควรมาให้ได้ครับ

เห็นความหลากหลายของชาติพันธุ์หลายสิบกลุ่ม รวมทั้งกลุ่มไทยดำ-ไทยขาวชาติพันธุ์ที่มีในไทย วัฒนธรรม ความเป็นอยู่

พวกที่ทำเรื่องชาติพันธุ์ต้องถูกใจมากครับ

18387282_1282004795262402_969558528_nวันที่ 14 เมษายน

ไปพระราชวังเว้ สร้างโดยพระเจ้าซาล็อง – Gia Long, องเชียงสือ, เหงียนอัน 2305- 2363 เป็นคนร่วมสมัยพระเจ้าเอกท้ศน์-พระเจ้าตากสิน- รัชกาลที่หนึ่ง

หลังสู้กบฎไต้เซิงเป็นเวลาสามสิบปี และรวมอาณาจักรเวียตนามได้ ตั้งราชวงศ์เหงียน สร้างเว้ให้เป็นเมืองหลวงเมื่อ 2345

ระหว่างการต่อสู้ ได้ความช่วยเหลือจากบาทหลวงฝรั่งเศส- Pigneau ติดต่อกำลังฝรั่งเศสจากราชสำนักแวร์ซายน์, จากเมือง Pondicherry ในอินเดีย

องเชียงสือส่งลูกชายที่เป็นลูกมเหษีเอก อายุเพียง 6 ปีไปเป็นตัวประกันที่ฝรั่งเศส ดังนั้น ก่อนองเชียงสือหันหน้ามาพึ่งบารมีรัชกาลที่หนึ่ง องเชียงสือคบกับฝรั่งเศสมานานแล้ว บาทหลวง Pigneau ไปเจรจากับฝรั่งเศสในนามองเชียงสือ เพื่อให้สิทธิประโยชน์ฝรั่งเศส

Pigneau ช่วยองเชียงสือให้มีกำลังทหารรับจ้าง(ตะวันตก อินเดีย และจีน) มีอาวุธ ใช้ปืนใหญ่ ฝึกอาวุธและยุทธวิธีแบบยุโรป ประเทศอย่างเราๆ โชคร้าย ถูกตะวันตกส่งอาวุธ สอนยุทธวิธีให้ฆ่ากันเองมานานนับร้อยๆปี ปัจจุบันก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง

จัดการกบฏได้แล้ว องเชียงสือสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิคนแรกของราชวงศ์เหงียน สร้างพระราชวังเว้ เมืองเว้ ป้อมเมืองเว้ (Citadel) ครองราชย์ระหว่าง 2345-2363 ตรงกับช่วงรัชกาลที่หนึ่ง

ประวัติศาสตร์เล่าว่ากษัตริย์ซาล็องลงโทษกบฏอย่างโหด ใช้ช้างสี่ตัวฉีกร่างกายหัวหน้ากบฏขาดเป็นสี่ท่อนและเอาเสียบประจานสี่มุมเมือง เมียหัวหน้าและลูกสาวถูกช้างโยน เอางาเสียบ และเหยียบ ส่วนคนอื่นตายง่ายคือถูกตัดหัว

อ่านเรื่องประวัติศาสตร์ก็ต้องใช้กาลามสูตร เพราะคนเขียนมีฐานความรู้และอคติต่างกัน

ในกรณีซาล็อง ถ้าคนเขียนเป็นฝรั่งเศสหรืออเมริกัน ก็อาจเป็นได้ว่าฝรั่งเศสและอเมริกาไม่ชอบเวียตนาม มีบาดแผลจากการแพ้สงครามกับเวียตนามแล้วทั้งสองประเทศ ถ้าคนเวียตนามเป็นคนเขียน ก็คงเป็นเวียตนามที่เป็นคอมมิวนิสต์ ไม่ชอบกษัตริย์

กษัตริย์ซาล็องเป็นนักปฎิรูปฟื้นฟูวัฒนธรรมขงจื้อ จัดระบบข้าราชการใหม่ สร้างกองทัพเรือ สร้างระบบเกษตร บาทหลวง Pigneau ที่ช่วยติดต่อความช่วยเหลือจากฝรั่งเศส นำระบบและเทคโนโลยีฝรั่งเศสเข้ามาเช่นไปรษณีย์

อ่านประวัติศาสตร์แล้วเห็นว่า เวียตนามเริ่มติดต่อและรับเทคโนโลยีตะวันตกก่อนชาติอื่นในเอเซีย ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือไทย ซึ่งเกิดเกือบหนึ่งร้อยปีหลังเวียตนาม

———-

18386780_1282004761929072_2111085503_nมีเขียนไว้ในประวัติศาสตร์ว่า กษัตริย์ซาล็องตัดสินใจไม่เอากองทัพไทยช่วยรบกบฏไต้เซิง เพราะการคบกันคนสยามไม่ป้อบปูล่ากับชาวเวียตนาม เคยรบกันมาแล้วหลายคร้ังตั้งแต่อยุธยา ซาล็องเลยหันไปใช่กำลังที่ฝรั่งเศสจัดหา

อ่านแล้วก็ต้องเข้าใจว่าสยามไม่ได้เป็นที่ชอบของเพื่อนบ้านสมัยโบราณด้วย

ในสมัยกษัตริย์ซาล็อง เวียต นามขับไทยออกจากเขมรซึ่งไทยใช้เป็นกันชนและอาณานิคม (vassal state)

ความจริงที่เขียนมา ไม่ใช่ประเทศไทยกับประเทศ เวียตนามมีปัญหา เป็นความข้ดแย้งระหว่างสยามอยุธยา- สยามรัตนโกสินทร์กับอาณาจักรโคชินหรือส่วนของประเทศเวียตนามตอนใต้ อาณาจักรเวียตนามเก่าที่สลายไปแล้ว

กษัตริย์เวียตนามเมื่ออายุ 40 ปี จะจัดงานฉลองอายุใหญ่โต เพื่อให้ผลบุญส่งถึงลูกหลานให้ยั่งยืน

กษัตริย์ซาล็อง กษัตริย์องค์ที่สอง- มินหมัง (Minh Mang) ซึ่งเป็นลูกชายคนรอง(เพราะคนแรกถูกส่งไปเป็นตัวประกันที่ฝรั่งเศส) ก็ได้ทำบุญอายุ 40 ปีทั้งคู่

กษัตริย์มินหมังมีความหวังที่จะให้ราชวงศ์เหงียนอยู่ได้ 20 ชั่วคน แต่ในความเป็นจริง ราชวงศ์อยู่ได้ 5 ชั่วคน
ยาวนาน 140 ปี มีกษัตริย์ 13 องค์

กษัตริย์องค์สุดท้ายคือเบาได๋ (Bao Dai) ถูกกองทัพปลดแอกประชาชน ซึ่งชนะญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง จัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ และเชิญ (บังคับ) ให้สละราชสมบัติในปี 2488

หน้าพระที่นั่งออกว่าราชการ Thai Hoe มีป้ายตำแหน่งขุนนางยืนเฝ้า ภายในมีพระราชอาสน์ ภาพวาด ลายสลัก และลายหล่อเสาเป็นรูปมังกรกับเมฆ ชาวเวียตนามอธิบายว่าแสดงถึงกษัตริย์ (มังกร) กับประชาชน (เมฆ)

แต่นัยยะคงไม่ลึกซึ้งเท่ากับ” ราชประชาสมาสัย” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ของเรา

theme ” มังกรกับเมฆ” มีอยู่ทุกที่ ที่กษัตริย์ราชวงศ์เหงียนสร้าง หรือ ประทับ

กษัตริย์ราชวงศ์เหงียนสร้างสุสานทุกพระองค์ ใช้เงินมาก ต้องเก็บภาษีเพิ่ม ประชาชนเดือนร้อน ประวัติศาสตร์กล่าวว่ากษัตริย์ Kai Dinh เก็บภาษีเพิ่มอีก 30-40 % เพื่อเอามาสร้างสุสาน คนเดือดร้อนมาก

กษัตริย์พม่า เขมร สร้างวัด สร้างสุสาน ในสเกลที่คนไทยไม่มี ไม่รู้จัก โชคดีสำหรับประเทศไทย

อภิมหาการก่อสร้างเช่นนี้ ทำให้เศรษฐกิจอ่อนแอ คนไม่มีเวลาทำการเกษตรผลิตอาหารของตน ไม่มีเวลาทำมาหากิน ไม่มีกำลังงานไปสร้างบูรณะโครงสร้างการผลิตเกษตร เช่นอ่างเก็บน้ำ คลองส่งน้ำ ระบบผลิตอาหารจึงพัง คนอยู่ไม่ได้

มีการวิเคราะห์ว่า การก่อสร้างที่เกินพอดี เกินกำลังประชาชน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เมืองและอาณาจักรอ่อนแอและล่มสลาย นอกจากเหตุผลอื่นเช่น นำ้เปลี่ยนทางเดิน โรคระบาด ศัตรูรุกราน คนหมดกำลังสู้

อาณาจักรพุกาม อาณาจักรเขมรพระนคร เป็นตัวอย่างที่ยกกัน

พุกาม กษัตริย์สร้างวัดนับพันวัดในพื้นที่จำกัด นอกจากนั้นทำลายระบบนิเวศเพราะตัดไม้มาเผาอิฐติดต่อกันหลายร้อยปี จนไม่มีต้นไม้ใหญ่เหลือ ภูมิอากาศตรงพื้นที่ (micro-climate)เปลี่ยน คนหมดแรง
คนอดหยาก

เขมรพระนครก็เช่นกัน สร้างปราสาทหินทั้งขนาดและจำนวนมหาศาล จนสังคมอ่อนแอ เมื่อกองทัพอยุธยาสมัยพระบรมราชาธิราชยกไปตี จึงสู้ไม่ได้ เมืองสลาย

เป็นตัวอย่างของการสร้างจนพินาศ ฟังแล้วสวนทางกับตรรกกะ

ในพระราชวังเว้ มีการบูรณะอาคารเก่าตลอดเวลา เทียบกับสามปีก่อน มาครั้งนี้ สิ่งที่บูรณะผมเห็นในวังและได้เข้าดูมี พระที่นั่งว่าราชการ Royal Reading Room ,Halll of Mandarins, มีส่วนอื่นที่ไม่ได้ดูเพราะไม่มีเวลาเป็นตำหนักDowager Empress, วัดในพระราชวัง เดินสามชั่วโมงขาก็ลากแล้ว สิ่งที่ดีคือมี animation video ที่รัฐบาลเกาหลีทำให้ ดูเพียงสิบนาทีก็เห็นภาพรวมของพระราชวัง

ดูท่าทางสอบจริงจังขึงขังมาก น่าเกรงขาม คงได้คนดีมาทำงานให้แผ่นดิน สองรูปสุดท้ายเป็นประกาศแต่งตั้งผู้สอบได้ ตั้งชื่อให้ใหม่ บอกว่าไปทำงานอะไร ที่ไหน เป็นสิ่งใหม่ที่ผมเพิ่งรู้ ไม่เคยอ่านเรื่องสอบคนเข้ารับราชการของจีน แต่คิดว่าคงเหมือนกันพราะเป็นต้นแบบ

มีนิทรรศการรูปเก่าหลายเรื่องเช่นกษัตริย์ พระราชินี ขุนนาง สนมและขันที พระราชพิธีทั้งหลาย ผมดูรูปเก่าเรื่องการสอบเข้ารับราชการ เหมือนการสอบจอหงวนของจีน น่าสนใจ

พระราชวังเว้มีคูน้ำล้อมรอบเหมือนปราสาทพระราชวังหลายแห่ง ขณะที่พระบรมมหาราชวังที่กรุงเทพไม่มีคูน้ำล้อม แต่สวนจิตรลดามี

พระราขวังเว้ตั้งอยู่ในป้อมปราการ (citadel) อีกชั้นหนึ่ง ตัวป้อมหันหน้าสู่ทิศใต้ติดแม่น้ำน้ำหอม

ฮวงจุ้ยของพระราชวังมีมังกรเขียว/ น้ำเงินทางซ้าย มีเสือขาวทางขวา

ข้อมูลบอกว่ากำแพงวังยาวรวม 2.5 กม ถ้าข้อมูลถูก พื้นที่พระราชวังเว้คงประมาณ 250 ไร่ ครึ่งหนึ่งของสวนจิตรลดา

พระราชวังมีทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ถูกทำลายมากสองครั้ง เมื่อทำสงคราม
กอบกู้อิสรภาพจากฝรั่งเศสทศวรรษ 2480 ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง และในทศวรรษ 2500 และต้น 2510 ในสงครามกับอเมริกา

โดยเฉพาะเหตุการณ์ Tet Offensive มกราคม 2511 ที่กำลังเวียตกง (ทหารกู้ชาติคอมมิวนิสต์ ชาวเวียตนามใต้) โจมตีพร้อมกันหลายแห่งทั้งประเทศเวียตนามใต้

Tet เป็นเทศกาลปีใหม่ของเวียตนาม ทั้งอเมริกาและฝ่ายรัฐบาลเวียตนามใต้คิดไม่ถึงว่าเวียตกงจะทำสงครามในวันขึ้นปีใหม่

Tet Offensive 2511 เป็นจุดเปลี่ยนของสงครามเวียตนาม ที่ประชาชนอเมริกาเห็นว่าสงครามโหดร้ายมาก และฝ่ายกองทัพอเมริกันก็เห็นว่าสงครามไม่มีทางชนะ หลังจากนั้น เริ่มลดกำลังทหารอเมริกันออก เตรียมเจรจาสงบศึกที่เจนีวา ให้เวียตนามใต้สู้ศึกต่อไปเอง จนไซ่ง่อนแตกแก่กองกำลังเวียตกงเมื่อเมษายน 2518

สิ่งก่อสร้างของฝ่ายหน้าพระราชวังที่ยังเหลืออยู่จากการทำลาย คือ พระที่นั่งออกว่าราชการชื่อThai Hoe Palace ( Supreme Harmony) กษัตริย์ใช้ออกว่าราชการ ทำพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา ราชพิธี และการรับทูตต่างประเทศ ศาลาขุนนาง (Hall of the Mandarins) รอเข้าเฝ้ากลุ่มวัดในพระราชวัง University of Arts

สิ่งก่อสร้างฝ่ายใน ( Forbidden Purple City) ที่เหลือตำหนักมเหษีกษัตริย์พระองค์เก่า (Dowager Empress) พระราชชนนี ตำหนักอ่านหนังสือ ทำงานของกษัตริย์ (Royal Reading Hall) โรงละครหลวง ฉนวนทางเดิน

สุสานสร้างเมื่อประมาณหนึ่งร้อยปี ได้รับการยกย่องว่า สามารถนำวัตถุตะวันตกคือซีเมนต์แทนหินและอิฐ มา
สร้างอาคารใช้ได้กลมกลืน ซีเมนต์ผสมสีดำให้ดูเหมือนศิลปะGothic ของยุโรป

สิ่งที่สวยและประณีตมากคือภายในสุสาน มีการประดับกระเบื้อง เซรามิกส์ กระจก เป็นเรื่องราว อาทิฤดูกาล สัตว์ ของใช้ฯ นักวิจารณ์ศิลปะบอกว่าอ่อนช้อย ราวกับนกบินได้จริง สัตว์มีชีวิต เป็นงานติดกระเบื้องที่งามที่สุดที่ผมเห็น

จุดสุดท้ายในเว้ที่ไปชมคือสุสานกษัตริย์ Kai Dinh สุสานอยู่นอกเมืองไปราวสิบกิโล กษัตริย์องค์นี้ครองราชย์ 2459-2469 ร่วมสมัยกับรัชกาลที่หก

เรื่องเล่าประวัติศาสตร์บอกว่าคนเวียตนามไม่ชอบกษัตริย์องค์นี้ เพราะเป็นเหมือนหุ่นให้ฝรั่งเศส บิดาของกษัตริย์องค์นี้คือกษัตริย์ Day Tan (ครองราชย์ 2450-2459) ร่วมกับกลุ่มคนเวียตนามที่จะขับไล่ฝรั่งเศส ทำไม่สำเร็จ เลยถูกฝรั่งเศสปลด คนอื่นถูกประหารหมด กษัตริย์ Day Tan ถูก เนรเทศไปอยู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย นอกฝั่งอาฟริกาทางตะวันออกของมาดากาสการ์ ซึ่งเป็นที่ฝรั่งเศสเนรเทศคน ส่วนลูกชายชองกษัตริย์Kai Dinh คือกษัตริย์เบาได๋ ครองราชย์ 2469-2488 ถูกรัฐบาลคอมนิวนิสต์บังคับให้สละราชสมบัติ หมดราชวงศ์เหงียน

ในประวัติศาสตร์ราชวงศ์เหงียน 13 องค์ มีกษัตริย์สามสี่องค์ที่คนเวียตนามไม่ชอบ เพราะเป็นหุ่นให้ฝรั่งเศส

Like this article?

Share on Facebook
Share on Twitter
Share on Linkdin
Share on Pinterest