นักศึกษา ปสม.1 ลงพื้นที่เชียงราย รับฟังปัญหาแม่น้ำโขงวิกฤติ



วันที่ 22 กรกฎาคม 2562 ที่ห้องประชุมโรงแรมฟอร์จูน อ.เชียงของ จ.เชียงราย มีการจัดเวทีสถานการณ์แม่น้ำโขงและสิทธิชุมชน ของหลักสูตรประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปสม.) รุ่นที่ 1 นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว หรือครูตี๋ ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่า แม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงจนเป็นวิกฤติต่อเนื่องมาในขณะนี้ เนื่องจาก 6 ปัจจัยหลัก ที่สำคัญ คือ เขื่อน การเดินเรือพาณิชย์ การใช้สารเคมีเกษตรและที่ดินขยะพบว่า เขื่อนเป็นปัจจัยหลักที่เปลี่ยนแม่น้ำโขงอย่างรวดเร็ว วิกฤติแม่น้ำโขงสาหัสมากยิ่งขึ้น 2539 เขื่อนมานวาน เริ่มกักเก็บน้ำ ระดับน้ำโขงขึ้นลงผิดปกติ เกิดน้ำท่วม 2553 ในพื้นที่ 3 อำเภอ เสียหาย 85 ล้านบาท เราพบว่าแม่น้ำสาละวิน ไม่มีปัญหาทั้งที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกันที่หิมาลัยระดับน้ำผิดปกติ จีนระบายน้ำเพิ่ม 30% ในหน้าแล้ง แบบนี้ไม่สัมพันธ์กับธรรมชาติ แบบนี้ก็เพียงแค่ใช้แม่น้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าและเดินเรือไก สามเดือนมีรายได้เกือบแสน เป็นวัฒนธรรมของผู้หญิง ปีนี้เก็บไกได้แค่ 2 วัน จีนระบายน้ำตั้งแต่ต้น กุมภาพันธ์-เมษายน ไม่มีช่วงให้เก็บไกได้เลย ฤดูแล้ง เกาะแก่งหินผา เป็นที่ขยายพันธุ์วางไข่ของนก แต่ก็โดนน้ำพัดไปจีน จะเดินเรือเพื่อพาณิชย์ขนาดใหญ่ จะค้าขายได้แต่ต้องค้าขายให้เป็นธรรม ระเบิดแก่งแม่น้ำโขง มีแต่จีน ที่ได้แต่ท้องถิ่นและระบบนิเวศคงอยู่ไม่ไหว

ดร.อภิสม อินทรลาวัลย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง แม่น้ำโขงแห้งมากที่สุดในรอบ 50 ปี แม่น้ำโขงเกิดจากความอุดมสมบูรณ์จากวงจรระดับน้ำจากฝน 60 ล้านคน พึ่งพิงแม่น้ำโขงและทรัพยากร เขื่อนต่างๆ บนแม่น้ำโขง มีเอกสาร EIA สำหรับแต่ละเขื่อน แต่ยังขาดการศึกษาในภาพรวม cumulative impacts assessment จำเป็นต้องมองยุทธศาสตร์ของภูมิภาค และประเมินการใช้พลังงานไฟฟ้า เมื่อเปรียบเทียบปลาแม่น้ำโขง คือ 10% มากกว่าปลาในยุโรป 5 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหมูและวัว ส่งผลกระทบต่อ greenhous gas น้อยกว่า และเป็นแหล่งโปรตีนทั่วโลก 19 ก/คน/ปี แต่ที่กัมพูชา 59 กัมพูชา 91 เฉลี่ย 63 กก/คน/ปี ปัจจัยจับปลาได้ 2.3 ล้านตัน /ปี ปลาจะหายไปจากระบบ 7 แสนตัน/ปี รักวิชาการจีนศึกษาว่าเขื่อนจีนทำตะกอนหายไป 50% เขื่อนตอนบทสร้างแล้วทำให้การไหลของน้ำเปลี่ยนแปลงไป มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ทุกสถานีวัดระดับน้ำ มีข้อมูลทางวิชาการยืนยันตะกอนดินทีไหลมากับแม่น้ำโขง ทับถมริมฝั่ง เป็นความอุดมสมบูรณ์ เมื่อตะกอนดินลดลงจากเขื่อนทำให้เกิดการใช้สารเคมี คณะมนตรีแม่น้ำโขงศึกษาว่า ปลาจะลดลงอย่างมากทั้งภูมิภาคมีการศึกษาว่าประชาชนกัมพูชา ไม่มีที่ดินและปรับตัวได้ยากมากหากสูญเสียทรัพยากรแม่น้ำโขง

จากการตรวจสอบข้อมูลและข่าว พบว่าจากสื่อนานาชาติ ออกมาให้เห็นว่าผลกระทบจากเขื่อนรุนแรง แต่ข่าวจากสำนักข่าวจีน พยายามแสดงถึงว่าเขื่อนที่ลงทุนโดยจีนในลาว ทำให้ประชาชน มีความเป็นอยู่ดีขึ้น มีอาชีพทำงานที่เขื่อน ในการศึกษา BDP2 ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ลาวจะมีรายได้และผลประโยชน์จากการลงทุนในโครงการเขื่อนเพียงเล็กน้อย เพราะเป็นการลงทุนของเอกชนจากต่างประเทศ สำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์แล้ว การสูญเสียทางธรรมชาติเทียบไม่ได้กับผลประโยชน์ การศึกษาของ UN ก็ชี้ชัดว่าในลาว ประชาชนไม่สามารถได้ผลประโยชน์จากการลงทุน แต่ตกอยู่กับครอบครัวชนชั้นนำเพียงไม่กี่รายเท่านั้น

นานสุรนาถ ศิริโชติ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค เขียงแสน กรมเจ้าท่ามีภารกิจหลักเรื่องการเดินเรือ ในแม่น้ำโขงเริ่มมี กรอบความร่วมมือในการใช้แม่น้ำโขงเพื่อการขนส่งในแม่น้ำโขง ระหว่าง 4 ประเทศ เริ่มในปี 2546 ปริมาณเรือจีนปัจจุบัน 76 ลำ เรือไทย 30 พม่า 30 ลาว 500 ลำ ไทยเราได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้า ได้ดุลการค้า 1.5 หมื่นล้านต่อปี คนค้าจริงๆ หรือไทยและจีน ส่งออกยางพารา น้ำมัน เขื่อนก็เป็นตัวแปรให้เดินเรือได้ ตามที่มีข้อตกลงให้เรือ 500 ตัน รอเดินทางได้ตลอดทั้งปี แต่ที่เจ้าพระยาสามารถใช้เรือ 17,000 ตัน ปัจจัยคือ ขนาดร่องน้ำ เนื่องจากแม่น้ำโขงไม่มีการพัฒนาและบำรุงรักษาร่องน้ำ จึงตกลงร่วมกัน 4 ประเทศ ซึ่งศึกษาและออกแบบ เช่น ร่องน้ำต้องมีขนาด 50 เมตรเพื่อให้เรือสวนกันได้อย่างปลอดภัย มีการศึกษาเหมือนกับการตัดถนน ก็ตัดต้นไม้แค่ที่ขวางทาง

ในการประชุม 4 ประเทศ ไทยระบุว่าต้องการมีส่วนร่วมของประชาชน ในเวทีหารือในไทย พบว่าร้อยละ 90 ไม่เห็นด้วย เนื่องจาก คนริมโขงได้รับผลกระทบจากเขื่อนตั้งแต่ พ.ศ.2539 ขนาดส่วนราชการเองก็ยังไม่มีจากจีน มีแค่จาก MRC ที่รับแจ้งข้อมูลบางช่วงจากจีน เช่น ในฤดูฝนแจ้งผ่านเว็บไซต์ชาวบ้านรู้สึกได้ว่าได้รับผลกระทบ แต่โดยส่วนตัวคิดว่าผลกระทบในเชียงรายอาจไม่มาก หากมีการสร้างเขื่อนปากแบกก็จะมีน้ำเท้อ การค้าธุรกิจการเดินเรือ อย่างไรก็ต้องดำเนินต่อ เชียงรายเป็นประตูสู่จีน การผ่านเขื่อนก็มีช่องทางผ่านของเรือ กว้าง 12 เมตร ยาว 150 เมตร เรือต้องกว้างไม่เกิน 10 เมตร ดังนั้นความกว้างยาวของเรือถูกบังคับโดยร่องน้ำและช่อทางเรือผ่านของเขื่อน

นอ.วุฒิชัย ภู่เจริญยงค์ ผู้บัญชาการหน่วยรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง สะท้อนมุมด้านความมั่นคง หน่วยงาน นรข.ดูแลความมั่นคง และบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งพื้นที่นี้ทับซ้อนความมั่นคงและมั่งคั่ง หากเข้มงวดระหว่าง 2 ฝั่งจะทำมาหากินได้ยาก ที่ผ่านมาต้องไปช่วยเรือที่เกยตื้น การทำประมงและเกษตร ถูกเปลี่ยนแปลงไปหมด 96 กิโลเมตรจากสามเหลี่ยมทองคำและแก่งผาได เป็นพื้นที่รับผิดชอบ พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลง เรือหาปลากลายเป็นเรือหายา ถนนเลียบสองฝั่งโขงเอื้อต่อการค้ายาเสพติด น้ำโขงแคบลงๆ ผู้ค้ายาแบกยาได้ 1 แสนเม็ด แต่ที่แม่น้ำโขง ขับรถลงไปส่ง 5 นาที จบงานประชาชนเดือดร้อน จับปลาทำเกษตรไม่ได้ ก็อาจต้องหันหาทางรอดตลอดฝั่งมีเรือจอดจำนวนมาก ไม่ทีงานทำ หาปลาไม่ได้ นำไปสู่การค้ายาเสพติด กลางดึกกลางดื่นออกไป “หาปลา” เห็นผลกระทบสืบเนื่อง จากการสูญเสียธรรมชาติ สู่ปัญหาความมั่นคงและปัญหาสังคมอื่นๆ


ที่มา https://www.siamhotlinenews.com/20750/

Like this article?

Share on Facebook
Share on Twitter
Share on Linkdin
Share on Pinterest