ปสม.เยือนพชภ. หารืองานแก้ปัญหาสถานะบุคคล ผู้เฒ่าไร้สัญชาติ (English summary below)

วันที่ 9 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์การเรียนรู้มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) บ้านป่าคาสุขใจ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย นักศึกษาจากสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปสม.) รุ่นที่ 3 จำนวนประมาณ 60 คน พร้อมทั้งนางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และกรรมผู้ก่อตั้งพชภ. นางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายกิตติ อินทรกุล รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางสาวเพียรพร ดีเทศน์ เลขาธิการมูลนิธิพชภ. และนายอำเภอแม่ฟ้าหลวง ได้ร่วมเวทีเสวนาเรื่อง สถานการณ์คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติในประเทศไทย นโยบายและความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหา 

นางเตือนใจ ดีเทศน์ กล่าวถึงการก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนเเละเขตภูเขา ตั้งเเต่อดีต นับตั้งแต่ปี 2528 ถึงปัจจุบัน โดยมูลนิธิพชภ. ได้เริ่มผลักดันให้เด็กบนพื้นที่สูง กลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีภูมิลำเนาบนแผ่นดินไทย ให้ได้รับการพัฒนาสถานะบุคคล ซึ่งสำเร็จไปเรียบร้อยเเล้ว ในขณะที่เด็กได้รับสัญชาติไทยเเล้ว เเต่พบว่ายังมีผู้สูงอายุ ผู้เฒ่าจำนวนมากยังไม่ได้รับการพัฒนาสถานะบุคคล แม้จะมีภูมิลำเนาในประเทศไทยอย่างยาวนาน 30-40 ปี เนื่องจากบางคนถูกบันทึกว่าเกิดประเทศพม่า ทั้งๆ ที่ผู้เฒ่าเกิดที่ประเทศไทย หรือบางคนไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดที่ไหน เนื่องจากภูมิประเทศของสมัยก่อนยังไม่มีเส้นเขตดินเเดนที่ชัดเจน หรือหลายคนถือเอกสารใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ซึ่งต้องดำเนินการแปลงสัญชาติจากชนกลุ่มน้อยเป็นไทย กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเปราะบาง ที่ไม่สามารถพัฒนาสิทธิของตนเองได้ เนื่องจากไม่รู้หนังสือ ไม่มีความรู้ทางกฎหมาย มูลนิธิพชภ. จึงผลักดันการแก้ปัญหาผู้เฒ่าไร้สัญชาติเป็นพิเศษ เเม้จะเป็นเรื่องยาก เเต่เจ้าหน้าที่ทุกคนในมูลนิธิได้พยายามเเละช่วยกันดำเนินงาน เพื่อให้ผู้เฒ่าเหล่านี้ได้รับการพัฒนาสถานะบุคคล เเละ ความเป็นธรรม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยางยืน (SDG goals) ที่มีเป้าหมายว่าจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 

รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้กล่าวถึงว่า ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐทุกคน ได้ประสานงานร่วมกัน การพิจารณาขอสัญชาติ จะเป็นกระบวนการที่ไม่นาน อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ได้ยกตัวอย่างกรณีการพิจารณาขอแปลงสัญชาติภายใน 28 วัน ทำให้เด็ก 7 คน ได้รับสัญชาติภายใน 7 วัน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เนื่องจาก มีหลายหน่วยงานภาครัฐ ได้ประสานเเละช่วยให้การพิจารณาสัญชาติอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ถ้าหน่วยงานภาครัฐได้เสนอแผนดำเนินการ เพื่อขอพิจารณาแปลงสัญชาติ ให้ซับซ้อนน้อยลง เเละจัดสรรปันส่วนงบประมาณให้เหมาะสม สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายในการขอแปลงสัญชาติ การทำเรื่องขอแปลงสัญชาติมีค่าใช้จ่ายเเฝงอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง หรือ ค่าพิสูจน์อัตลักษณ์ ที่ผู้ร้องขอต้องออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เอง ซึ่งทำให้กระบวนการแปลงสัญชาติค่อนข้างยาก ดังนั้นจะเป็นสิ่งที่ดีต่อสังคม ถ้าพนักงานภาครัฐ ได้ร่วมด้วยช่วยกันผลักดันเรื่องนี้ ให้มีแผนการดำเนินการขอแปลงสัญชาติที่มีความรวดเร็วมากขึ้นเเละจัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยให้ทุกคนได้รับความเท่าเทียมเสมอภาค 

ตัวแทนผู้เฒ่าไร้สัญชาติ และผู้เฒ่าที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นไทยแล้ว จากหมู่บ้านป่าคาสุขใจ ได้เเลกเปลี่ยนเเละเเสดงความคิดเห็นของการได้เข้าสู่กระบวนการเเปลงสัญชาติ ผู้เฒ่าอาจ่า อ้ายซาง และ แม่เฒ่ามีนะ เบเชอกู่ กล่าวว่าการที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นไทย ได้ถ่ายบัตรประชาชนไทย จะทำให้ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สิทธิการเข้ารักษาโรงพยาบาล สิทธิในการเดินทาง สิ่งเหล่าจะทำให้ผู้เฒ่าได้รับสิทธิ์เท่าเทียมเหมือนประชาชนไทย

ในกิจกรรมดังกล่าว ผู้เฒ่าชาวอาข่ากว่า 20 คน นำไข่ไก่แดงมอบให้เพื่อต้อนรับคณะปสม.อย่างอบอุ่น ในบรรยากาศของธรรมชาติบนดอยแม่สลอง

รายงานโดย นางสาวรมย์นลิน อินศิริและนายคามิน อาสนโกมล ตำแหน่งนักศึกษาฝึกงาน มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา


HADF hosts a forum on the stateless situation in Thailand

On June 9, 2023, Hill Area and Community Development Foundation (HADF) hosts a forum for participants of King Prajadhipok’s Institute’s course on human rights. The forum titled “The Situation of Statelessness in Thailand, ways forwards and policy”, was participated by Tuenjai Deetes, HADF founder and ex-Senator, Mr Kitti Intrakul, deputy director of Department of Social Development and Welfare, among others.

Tuenjai provides the background of Hill Area and Community Development Foundation, that started in 1980s. She says HADF works to defend rights and legal status of peoples living on Thai soil, especially the ethnics. Back in early years, the foundation advocated for stateless children, to access to education, and legal status.  However, HADF later found that there are a large number of stateless, who have been living on Thai soil for over 3-4 decades but never access to proper legal status. This is one of the most vulnerable groups. She adds that the process on naturalization for ethnic stateless elders are multiple years, and require a lot of resources. Tuenjai emphasizes the importance of achieving Sustainable Development Goals, that leaving no on behind.

Mr Kitti shares the process of requesting or obtaining Thai nationality that is long and challenging. Nevertheless, he says, it would be relatively easy if all of the stakeholders were involved in this process. It could ensure that this process will be shortened. He cites an example of requesting a naturalization process in Krabi province, that all stakeholders are involved and together with collaboration. He says requesting naturalization is a long process that takes over 2 years. But in this case, he says, it took only 28 days. It was possible as the process involved all of the stakeholders, and all of the state agencies collaborated.

This panel discussion was vivid, with lots of questions from participants from King Prajadhipok’s institute.

This report is prepared by Miss Romnalin Insiri and Mr Kamin Artsanakomon, Internship Students at Hill Area and Community Development Foundation (HADF)

Like this article?

Share on Facebook
Share on Twitter
Share on Linkdin
Share on Pinterest